โฮมฮับไอเดีย

โซล่าเซลล์ คืออะไร ทำไมประหยัดไฟได้เป็นแสนน !

โซล่าเซลล์ คืออะไร ทำไมประหยัดไฟได้เป็นแสนน !

คุณเคยสงสัยไหมว่าทำไมทั่วโลกถึงให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาดกันมากขนาดนี้ใช่ครับ หลายคนคงทราบแล้วว่าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยลดปัญหาเรื่องโลกร้อนและมลพิษเป็นสำคัญ แต่ข้อดีอีกข้อที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงก็คือ พลังงานหมุนเวียนสามารถผลิตไฟฟ้าจาก แสง ลม น้ำได้ทุกที่อย่างไม่มีวันหมด แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเมื่อไม่นานมานี้ Apple, Google และ Microsoft ก็ได้ร่วมลงนามข้อตกลงว่าจะหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากยิ่งขึ้น บ่งบอกว่าพลังงานหมุนเวียนจะมีบทบาทสำคัญต่อไปในอนาคตพลังงานหมุนเวียนที่ง่ายต่อการผลิตไฟฟ้ามากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น แสงอาทิตย์ เพราะทุกที่ย่อมมีแสงอาทิตย์ส่องไปถึง หมายความว่าทุกที่ก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องยากที่เราจะผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ด้วยตนเอง แต่ความจริงแล้วเพียงแค่เรามีความรู้พื้นฐานก็สามารถผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ใช้เองง่ายๆ อย่างไม่มีวันหมด ไม่ต่างอะไรกับการเรียนรู้ที่จะขับรถยนต์

และเมื่อผู้คนเริ่มอยู่บ้านมากขึ้น Work From Home กันมากขึ้น และช่วงนี้เทรนด์รักษ์โลก และ ประหยัดพลังงานก็มาแรงหลุดทุกโค้งง! วันนี้ HomeHub จึงมีบทความเกี่ยวกับพลังงานทดแทน พลังงานเเสงอาทิตย์ หรือเรียกง่ายๆว่า “ โซล่าเซลล์ ” มาฝากทุก ๆ คนกันถ้าพร้อมกันแล้วมาเริ่มทำความรู้จักกับ “ โซล่าเซลล์ ” กันเล้ยยยย

โซล่าเซลล์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ซึ่งพลังงานที่ได้มานั้นเราเรียกว่าเป็น “พลังงานสะอาด” ปราศจากมลพิษ ซึ่งเราสามารถใช้พลังงานนี้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัดเลย โดยกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จาก โซล่าเซลล์ นั้นจะเป็นกระแสไฟฟ้าโดยตรง DC มีขั้ว + และ ขั้ว – ซึ่งเราสามารถนำพลังงานนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทันทีซึ่งการใช้ โซล่าเซลล์ เข้ามาผลิตกระแสไฟฟ้าแทนการใช้เชื้อเพลิงแบบพลังงานฟอสซิลนั้นนอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เยอะมากๆ แล้วนั้นยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ด้วยเพราะว่าพลังงานที่ผลิตได้นั้นไม่มีการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีการปล่อยก๊าชเรือนกระจก เหมือนกับแหล่งพลังงานอื่น ๆ นั่นเอง

โซล่าเซลล์มีกี่ประเภท

ในปัจจุบันนี่นี้นะ แผงโซล่าเซลล์นั้นจะมีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกันคือ

    • โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
    • โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
    • แผงโซล่าเซลล์ชนิด ฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

ซึ่งแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันดังนี้

1. แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ผลิตมาจากผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า single crystalline (single-Si) จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมตัดมุมทั้งสี่มุม และจะมีสีเข้ม ซึ่งแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้นั้นทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง ผ่านกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง ที่เรียกว่า Czochralski process เพื่อที่ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และลดการใช้วัตถุดิบโมโนซิลิคอนลง

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

    • มีประสิทธิภาพสูงสุด เฉลี่ย 15% – 20% เพราะผลิตจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด
    • ใช้พื้นที่ในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์น้อย แต่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เกือบ 4 เท่า เมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นๆ
    • มีอายุการใช้งานนานที่สุด เฉลี่ย 25 ปีขึ้นไป
    • เมื่ออยู่ในภาวะที่มีแสงอาทิตย์ค่อนข้างน้อย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นๆ

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิด โมโนคริสตัลไลน์

    • มีราคาแพงที่สุดในบรรดาแผงโซล่าเซลล์
    • หากไม่มีการดูแลรักษา ตัวแผงโซล่าเซลล์มีคราบสกปรก หรือในบางส่วนของแผงโซล่าเซลล์ไม่มีการโดนแสงแดดเลย อาจทำให้วงจรหรือ inverter ไหม้เสียหายได้ อันเนื่องมาจากภาวะ High Over Voltage

2. แผงโซล่าเซลล์ชนิด โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)

แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เป็นชนิดแรกที่ผลิตมาจากผลึกซิลิคอนทั่วไปมีชื่อเรียกว่า โพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline,p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์(multi-crystalline,mc-Si) มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และไม่มีการตัดมุม สีของตัวแผงโซล่าเซลล์จะออกสีน้ำเงินฟ้าไม่เข้มมากซึ่งกระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ คือจะหลอมซิลิคอนหรือแก้วให้เหลว แล้วมาเทใส่แม่แบบที่เป็นรูปสี่หลี่ยมนั่นเอง

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์

    • มีประสิทธิภาพการใช้งานในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูงได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัล
    • มีกระบวนการผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน จึงใช้จำนวนซิลิคอนในปริมาณที่น้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์
    • มีราคาที่ถูกกว่า เมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ ชนิดโพลีคริสตัลไลน์

    • มีสีที่จางๆ ออกไปทางสีน้ำเงิน ทำให้บางครั้งดูไม่ค่อยสวยงาม และไม่เข้ากับสิ่งแวดแวดล้อม
    • มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานเฉลี่ยอยู่ที่ 13% – 16% ซึ่งน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์
    • เมื่ออยู่ในสภาวะแสงน้อย จะมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์

3. แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin Film Solar Cells)

(แผงโซล่าเซลล์ อะมอร์ฟัส เป็นหนึ่งในหลายชนิด ของแบบฟิล์มบาง) กระบวนการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางนั้น คือ การนำสารที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานงานไฟฟ้ามาฉาบซ้อนกันหลายๆ ชั้น จึงทำให้เราเรียกแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ thin film ต้องบอกก่อนนะ ว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้นั้น ไม่ค่อยได้รับความนิยมสำหรับการติดตั้งตามบ้านเรือน หรือ ที่อยู่อาศัยเท่าไหร่นัก เนื่องจากว่ามีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยเพียง 7% – 13% เท่านั้น และอายุการใช้งานยังมีน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นๆอีกด้วย

ข้อดีของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

    • ชั้นตอนการผลิตไม่ยุ่งยาก และซับซ้อน จึงทำให้มีราคาถูก และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก
    • เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีอุณหภูมิสูง แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะมีผลกระทบน้อยกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นๆ
    • ถ้าเพื่อนๆ มีพื้นที่เหลือเยอะ การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบางก็ถือว่าตอบโจทย์

ข้อเสียของแผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง

    • มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่ำ
    • สิ้นเปลืองค่าโครงสร้าง และอุปกรณ์อื่นๆ ในการติดตั้ง เช่น สายไฟ และ ข้อต่อ เนื่องจากว่าหากต้องการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้จะต้องใช้ในปริมาณที่เยอะ
    • เมื่ออยู่ในสภาวะแสงน้อย จะมีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำกว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดอื่นๆ
    • ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ตามหลังคาบ้าน เพราะว่ามีพื้นที่ที่จำกัด
    • การรับประกันสั้นกว่าชนิดผลึกซิลิคอน

4. ระบบของแผงโซล่าเซลล์

สำหรับแผงโซล่าเซลล์ หลักๆ แล้วจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระบบหลักๆ ด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และ พื้นที่ในการติดตั้งนั่นเอง ซึ่งทั้ง 3 ระบบนั้นแตกต่างกัน ดังนี้

    1. ระบบ Off-Grid เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ไม่เชื่อมต่อกับการไฟฟ้า สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์แล้วสามารถใช้งานได้เลย แต่หากใช้ไม่หมดสามารถเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ได้ โดยระบบนี้นี้ไม่ต้องมีการขออนุญาตจากการไฟฟ้า จึงเหมาะกับสถานที่ที่ไฟฟ้าเข้าไปไม่ถึง เช่่น พื้นที่ห่างไกล บนดอยสูง หรือ บนเกาะ
    2. ระบบ On Grid เป็นระบบโซล่าเซลล์ที่ใช้ทั้งไฟจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงโซล่าเซลล์ เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย ซึ่งระบบนี้จะต้องผลิตไฟฟ้าแล้วใช้เลย จะไม่มีการเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ และที่สำคัญจะต้องขออนุญาตการไฟฟ้าก่อนใช้งานด้วย อีกทั้งในปัจจุบันระบบนี้ยังเป็นที่นิยมมากที่สุดด้วย
    3. ระบบ Hybrid จะเป็นระบบที่ผสมผสานระหว่างระบบ Off-Grid และ ระบบ On Grid พูดง่ายๆ คือจะเป็นการเชื่อมต่อพลังงานจากการไฟฟ้า ร่วมกับการใช้พลังงานจาก แผงโซล่าเซลล์ และไฟในแบตเตอรี่ ซึ่งระบบนี้นั้นจะไม่สามารถขายกระแสไฟฟ้าที่เราผลิตได้ ให้กับภาครัฐได้ และที่สำคัญการติดตั้งระบบนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูง ในปัจจุบันผู้คนจึงไม่ค่อยนิยมระบบนี้กันมาก

5. เทคนิคการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนะว่า ตอนนี้เทรนด์รักษ์โลกกำลังมาแรง หลายๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นบริษัท หรือโครงการอสังริมทรัพย์ก็เริ่มที่จะหันมาใช้การ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์กันมากขึ้น และที่สำคัญในปัจจุบันนี้แผงโซล่าเซลล์ได้มีการพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นน้อง Genie จึงมีเทคนิคในการเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์มาฝากเพื่อนๆ กัน ดังนี้

    1. เลือกซื้อชนิดของแผงโซล่าเซลล์ให้เหมาะสมกับบ้าน การเลือกซื้อแผงของโซล่าเซลล์นั้น อย่างแรกที่เราต้องคำนึงถึงเลยก็คือตัวบ้านของเรา เนื่องจากกว่าเราต้องพิจารณาว่าแผงโซล่าเซลล์ชนิดไหนที่สามารถติดตั้งผ่านหลังคาบ้านของเราได้ และ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งแผงที่เหมาะกับการติดตั้งบนหลังคาบ้านนั้นจะมีทั้งหมด 2 แบบนั้นคือ แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ และ แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ เพราะว่า 2 ชนิดนี้จะมีคุณภาพที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
    2. คำนึงถึง ขนาด, กำลังการผลิต และประสิทธิภาพ และเมื่อเพื่อนๆ เลือกชนิดของแผงโซล่าเซลล์ได้แล้วนั่น ต่อมาก็คือความคุ้มค่า และ ประสิทธิภาพนั่นเอง ซึ่งเมื่อเลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีกำลังในการผลิตไฟฟ้ามาก ตัวของแผงโซล่าเซลล์ก็จะมีขนาดที่ใหญ่ไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้นเราต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการติดตั้งด้วยนะ
    3. เปรียบเทียบค่ากำลังไฟ และ ใช้ของที่มีคุณภาพ เมื่อเพื่อนๆ จะติดแผงโซล่าเซลล์นั้น จะต้องคำนึงถึงค่ากำลังไฟฟ้าทั้งหมดภายในบ้านไม่ว่าจะเป็นเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โทรทัศน์ หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เพื่อที่เราจะได้คำนวณกำลังไฟฟ้าในการเลือกซื้อเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้ามาได้อย่างถูกต้อง น้อง Genie แนะนำว่าควรคำนวณเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมดให้ได้ค่าไฟฟ้ารวมกันประมาณ 30% – 40% และเมื่อเปลี่ยนไปติดตั้งแผงโซล่าเซลล์แล้วนั้น เราควรใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อสายไฟที่ต้องสามารถทนทานต่ออุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป และ เบรกเกอร์ที่จะต้องทนน้ำ และ ความร้อนได้เป็นอย่างดี
    4. ราคา และ การรับประกัน สิ่งที่สำคัญลำดับต้นๆเลยก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของราคาถูกต้องไหม? น้อง Genie ก็กังวลเรื่องนั้นอยู่มากพอสมควร แต่สิ่งที่เราจะสามารถนำมาประกอบการตัดสินใจได้นั้นคงจะเป็นในเรื่องของความคุ้มค่า คุณภาพ และอุปกรณ์ที่นำมาใช้นั่นเอง และ การที่เราเลือกซื้อเเผงโซล่าเซลล์ราคาแพงที่สุด นั่นอาจจะไม่ได้หมายความว่าเราจะได้สิ่งที่ดีทีสุด และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อแผงโซล่าเซลล์นั่นก็คือ ระยะเวลาในการรับประกันสินค้านั่นเอง ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นราคาที่ไม่สูงมากจะมีการรับประกันอุปกรณ์และความเสียหายที่เกิดจากการผลิตเพียง 10 ปี แต่ถ้าเราเลือกของแบรนด์ท๊อปที่คุณภาพระดับโลกมีรางวัลการันตี หรือ มีชื่อเสียงทางด้านโซล่าเซลล์มายาวนาน จะมีการรับประกันทั้ง ตัวแผงโซล่าเซลล์, Inverter, และการบริการหลังการขายอีกด้วย

แวะชมสินค้าของเราได้ที่ www.homehub.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *