หากคุณกำลังจะทาสีไม้ ไม่ว่าจะเป็นผนังไม้ พื้นไม้ หรือเฟอร์นิเจอร์ไม้ แล้วเคยคิดว่าสีทาไม้ก็เหมือนๆ กันหมด จะซื้ออะไรมาใช้ก็คงไม่ต่างกัน รู้มั้ยว่าคุณกำลังคิดผิด ถึงจะทาไม้ได้เหมือนกัน ถ้าซื้อมาใช้ผิดประเภทรับรองปัญหาเกิดแน่นอน เนื่องจาก สีย้อมไม้ ยูรีเทนทาไม้ น้ำมันทาไม้ หรือแลคเกอร์ ต่างก็มีคุณสมบัติที่เหมาะกับไม้แต่ละแบบ งานแต่ละประเภท เพราะฉะนั้นควรต้องรู้จัก ทำความเข้าใจให้ดีก่อนไปซื้อมาใช้
เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจ
>> สีทาไม้ <<
>> สีย้อมไม้ <<
>> ยูรีเทนทาไม้ <<
>> น้ำมันทาไม้ <<
>> วิธีใช้สีงานไม้ตามแบบช่างไม้มืออาชีพ <<
>> 5 ข้อควรระวังในการทาสีไม้ <<
>> คำแนะนำในการเลือกซื้อสีทาไม้<<
>> สรุป วิธีเลือกสีงานไม้ ซื้อรุ่นไหนดี <<
สีทาไม้ คืออะไร
สีทาไม้ หรือ Wood Coating คือการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์สีที่เอาไว้ใช้กับงานไม้ทุกรูปแบบ มีทั้งที่เป็น ฟิล์มสีแบบโปร่งแสง หรือที่เรียกว่า สีย้อมไม้ มีคุณสมบัติโชว์ลายไม้ได้ดี และ ฟิล์มสีแบบทึบแสง ที่สามารถทากลบลายไม้เดิม หรือสีเดิมจนมิด
คำว่า สีทาไม้ มักจะหมายถึง สีทาไม้ชนิดฟิล์มทึบแสง โดยทั่วไปจะใช้เป็น สีน้ำมัน ประเภทแอลคีดในการทา ซึ่งข้อดีคือสามารถกลบพื้นผิวได้มิด แต่ข้อเสียคือกลิ่นจะค่อนข้างแรง (เพราะต้องผสมทินเนอร์) และใช้เวลาแห้งค่อนข้างนานราวๆ 6 – 8 ชั่วโมงต่อเที่ยว แต่ปัจจุบันมีนวัตกรรมสีทางเลือกใหม่ๆ เช่น สีทาไม้สูตรน้ำ หรือสีน้ำมันสูตรอะคริลิก ที่มาแก้ไขจุดด้อยในส่วนนี้
สีย้อมไม้ คืออะไร
สีย้อมไม้ (Wood Stain) หรือที่มักเรียกกันว่า วูดสเตน เป็นสีที่มีเนื้อโปร่งแสง จึงเหมาะกับคนที่อยากโชว์ลายไม้สวยๆ สีชนิดนี้จะมีความยืดหยุ่นสูง สามารถยืดหดตามการบิดตัวของไม้ได้ จึงเหมาะกับงานไม้แนวตั้ง เช่น ผนัง ระแนง เชิงชาย บัว วงกบ ฝาบ้าน ประตู หรือหน้าต่าง ฯลฯ ฟิล์มสีมีทั้งชนิดเงา กึ่งเงา และด้าน รวมทั้งยังมีทั้งแบบมีสีและแบบใส
วูดสเตน นอกจากจะช่วยให้ไม้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ยังสามารถช่วยปกป้องเนื้อไม้จากปัญหาต่างๆ เช่น ป้องกันความเสียหายจากรังสี UV ที่อาจทำให้ไม้ลอกล่อนซีดจาง ป้องกันน้ำซึมไม้ ปกป้องไม่จากเชื้อรา ตะไคร่น้ำ ปลวก มด มอด และแมลงกินไม้อื่นๆ ได้อีกด้วย โดยส่วนใหญ่ที่วางขายปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สีย้อมไม้สูตรน้ำมัน และสีย้อมไม้สูตรน้ำ
ข้อควรระวัง : ห้าม! นำสีย้อมไม้ ไปทาพื้นโดยเด็ดขาด เนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาพื้นเหนียวได้ ควรใช้สีทาพื้นไม้โดยเฉพาะ เช่น Beger DeckStain Beger SuperDeck หรือกลุ่มสีโพลียูรีเทน เช่น Beger Polyurethane 1K Supreme เป็นต้น
สีย้อมไม้สูตรน้ำมัน
ตัวผลิตภัณฑ์จะทำมาจากแอลคีดเรซิน สีสูตรนี้จะเหมาะกับงานไม้ภายนอก ที่ต้องการปกป้องไม้จากสภาวะอากาศ ทนแดด ทนฝน เนื่องจากโมเลกุลของเนื้อสีสามารถซึมลึกลงไปในเนื้อไม้ได้ดีที่สุด ยืดหยุ่นได้ดี และจะมีความเงางามสูง
ตัวอย่างสีย้อมไม้สูตรน้ำมัน | Beger WoodStain Supreme Gloss (สี-เงา), Beger WoodStain Supreme Semi Gloss (สี-กึ่งเงา), Beger WoodStain Supreme Clear Coat (ใส-เงา-ด้าน), Beger WoodStain Gloss (ใส-สี-เงา), Beger WoodStain Semi Gloss (ใส-สี-กึ่งเงา) โดยสินค้า สีงานไม้เบเยอร์ ซูพรีมจะเป็นสีเกรดสูงสุด
สีย้อมไม้สูตรน้ำ
หากใครไม่ชอบกลิ่นสี อยากทาเสร็จเข้าอยู่ได้ไว น่าจะตอบโจทย์ตรงความต้องการมากกว่า เพราะความพิเศษคือตัวสีจะทำมาจากอะคริลิกเรซิน กลิ่นอ่อนมาก จึงเหมาะกับการทาไม้ภายในบ้าน หรือใครจะเอาไปทาไม้นอกบ้านก็ได้เช่นกัน
ตัวอย่างสีย้อมไม้สูตรน้ำ | Beger Aqua WoodStain
ยูรีเทนทาไม้ คืออะไร
คือน้ำมันเคลือบแข็งประเภทหนึ่งที่ทำมาจากโพลียูรีเทน มักใช้เคลือบแข็งพื้นไม้ หรือท็อปของโต๊ะ เสมือนการเคลือบแก้วรถยนต์ เนื่องจากให้ความทนทานต่อการเหยียบย่ำ ทนการขูดขีด ทนแรงกระแทก ทนความร้อน-ความเย็น และทนสารเคมีในชีวิตประวันได้ดี โดยมากจะใช้ในพื้นที่ในร่ม หรือภายในบ้านที่อาจมีแดดส่องถึงเป็นบางเวลา แต่จะไม่นิยมใช้ทาภายนอกบ้าน เนื่องจากตัวฟิล์มไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยืดหยุ่นตามเนื้อไม้ และทนสภาวะอากาศภายนอกเหมือนกับสีย้อมไม้ ยูรีเทนจะมีทั้งชนิดฟิล์มเงามาก (High Gloss) เงา (Gloss) กึ่งเงา (Semi Gloss) และชนิดด้าน (Matt) โดยสามารถแบ่งย่อยได้เป็นอีก 2 ประเภท ได้แก่ ยูรีเทน 1K และ ยูรีเทน 2K
โพลียูรีเทนทาไม้ระบบ 1 ส่วนผสม (Polyurethane 1K)
เป็นโพลียูรีเทนชนิดดั้งเดิมที่ถูกใช้มาอย่างยาวนาน ชนิดเงาจะให้ความเงางามสูงมาก แล้วด้วยความเป็นเนื้อโปร่งแสงมีทั้งชนิดมีสี และชนิดสีใส เลยทำให้เห็นลายไม้ชัด เช่น เบเยอร์ ยูนีเทน B-52 ตัวขายดีอันดับ 1 จากเบเยอร์
ตัวอย่างยูรีเทนทาไม้ 1K | Beger Polyurethane 1K Supreme Outdoor (ภายในและภายนอก) , Beger Unithane B-52 (ภายใน), Beger Aqua Polyurethane (สูตรน้ำ)
โพลียูรีเทนทาไม้ระบบ 2 ส่วนผสม (Polyurethane 2K)
ยูรีเทนระบบ 2 ส่วนผสม ถูกพัฒนาต่อมาจากแบบส่วนผสมเดียว และผสมสารที่ทำให้แห้งไว ยูรีเทนชนิดนี้จะประกอบไปด้วย Part A และ ถัง Part B วิธีการใช้งานคือจะต้องนำสอง Part มาผสมกันในอัตราส่วนที่กำหนดก่อนการทา มีทั้งชนิดสีใส และชนิดมีเฉดสีตัวอย่างยูรีเทนทาไม้ 2K | Beger Polyurethane 2K Supreme (สีใส) , Beger B-5000 Polyurethane 2K(สีใส), Beger B-5000 Polyurethane 2K Colour (เฉดสี)
ในการทาโพลียูรีเทนระบบสองส่วนผสมจำเป็นต้องใช้ความชำนาญสูง เนื่องจากจะต้องผสมอัตราส่วนให้พอดี กำหนดความหนาในการทา และเว้นระยะเวลาแห้งให้เหมาะสม ซึ่งปัญหาที่มักเจอบ่อยๆ เช่น ผสมอัตราส่วนผิดทำให้สีแห้งช้า หรือทาเที่ยวที่สองในขณะที่สีไม่แห้งทำให้ผิวเป็นคลื่นไม่เรียบ
แม้จะบอกไปว่า โพลียูรีเทน ไม่เหมาะกับการทาภายนอก แต่ก็มีโพลียูรีเทนบางชนิดที่ใช้ภายนอก เช่น เบเยอร์ โพลียูรีเทน 1K ซูพรีม เอาท์ดอร์ ที่สามารถทนแดด ทนฝน ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งพ่วงคุณสมบัติสุดแกร่งของการเป็นยูรีเทนมาอย่างครบครัน เรียกได้ว่าตัวนี้ตัวเดียว ทาได้ทั้งภายนอก ภายใน ทั้งพื้น ทั้งผนัง ทั้งเฟอร์นิเจอร์
น้ำมันทาไม้ คืออะไร
น้ำมันทาไม้ คือน้ำมันรักษาเนื้อไม้ เป็นการเอาน้ำมันมาทาบำรุงเนื้อไม้ ช่วยทดแทนน้ำมันตามธรรมชาติของไม้ ทำให้ไม้คงทนต่อสภาพอากาศได้ดีขึ้น มีลักษณะเป็นสีใส จึงช่วยให้โชว์ลายไม้เดิมตามธรรมชาติ เช่น Beger Teak oil ส่วนใหญ่มักจะใช้ทาเฟอร์นิเจอร์ไม้ภายนอก ที่ต้องโดนแดด โดนฝน การทาน้ำมันทาไม้ก็เปรียบเสมือนการที่เราเอาโลชั่นมาทาตัวบำรุงผิวนั่นเอง โดยปกติจะนิยมทาใหม่เป็นประจำทุกปี
ตัวอย่างน้ำมันทาไม้ | Beger Teak Oil
แลคเกอร์ คืออะไร
แลคเกอร์ (Lacquer) คือผลิตภัณฑ์เคลือบผิวไม้ที่ทำมาจากไนโตรเซลลูโลสผสมกับเรซิน สามารถนำมาพ่น หรือทาก็ได้ (แต่นิยมใช้พ่นมากกว่า) มีทั้งแบบสีใส และแบบทึบ แบบเงา แบบกึ่งเงา และแบบด้าน โดยมากจะถูกนำไปใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ไม้ภายใน เช่น โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ งานบิวต์อิน (Built-In) ต่างๆ หรือแม้กระทั่งกีตาร์ ก็สามารถใช้พ่นได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติกันน้ำ และทนต่อรอยขีดข่วนได้ดี และสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดง่าย นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้กับพื้นผิวโลหะได้ด้วย
ตัวอย่างแลคเกอร์ | Beger Lacquer (โปร่งแสง) , Beger Industrial Lacquer (ทึบแสง) , Beger Aqua Industrial Lacquer (ทึบแสง)
ความแตกต่างของ แลกเกอร์ กับ โพลียูรีเทน?
แลกเกอร์จะแห้งเร็วกว่ามากโดยมีระยะเวลาแห้งผิวเพียง 5 – 10 นาที และแห้งพ่นหรือทาทับเพียง 30 นาทีเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นถ้าต้องการความทนทานที่สูง โพลียูรีเทนจะให้ฟิล์มที่มีความหนาที่มากกว่า แข็งกว่า และทนทานได้มากกว่า
วิธีใช้สีงานไม้ตามแบบช่างไม้มืออาชีพ
สีงานไม้ประเภทต่างๆ จะมีหลักการใช้งานคล้ายๆ กัน แต่จะต่างกันตรงที่เทคนิคการทา อัตราส่วน และชนิดของตัวทำละลาย โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้
- การเตรียมพื้นผิว
ก่อนจะทาสีใหม่ทุกครั้งจำเป็นต้องเตรียมพื้นผิวก่อนเสมอ เพื่อให้สีใหม่ที่เราจะทาลงไปสามารถยึดเกาะและแทรกซึมได้ดี
-
- กรณีที่คุณต้องการจะทาไม้ใหม่ที่มียาง หรือมีน้ำมันตามธรรมชาติ ควรใช้ ทินเนอร์เบเยอร์ M-77 เช็ดยางไม้ออกก่อน แล้วตากให้แห้ง
- กรณีเป็นไม้ที่เคยทาสีมาแล้ว จะต้องลอกสีเดิมออกก่อน อาจจะใช้น้ำยาลอกสี Beger Unisoft 9119 แล้วขัดเปิดให้ถึงเนื้อไม้ แล้วจึงทำความสะอาดเช็ดฝุ่นผงบนผิวออกให้หมด
- กรณีไม้มีรู มีรอยแตกร้าว แนะนำให้อุดโป๊วให้เรียบร้อยก่อน ด้วย เบเยอร์ วูดฟิลเลอร์
- การทารองพื้นไม้
ในบางครั้งหากไม้ที่เราต้องการจะทาสี ไม่ได้มีปัญหาอะไร ก็ไม่จำเป็นต้องทารองพื้นไม้ เพียงแค่เตรียมพื้นผิวก็สามารถทาสีงานไม้ได้เลย แต่ในบางกรณีโดยเฉพาะการทาสีไม้เก่า อาจจะต้องทาสีรองพื้นไม้เพื่อปรับสภาพไม้ และป้องกันปัญหาไม้บางอย่าง เช่น ปัญหาปลวก ปัญหาแมลงกินไม้ ปัญหายางไม้ ปัญหาเสี้ยนไม้ เป็นต้น รวมถึงในสีบางประเภท เช่น สีทาไม้ชนิดทึบแสง ที่จะให้สีทับหน้าทาขึ้นได้ง่ายกว่าเดิม
-
- ลงรองพื้นด้วย น้ำยากันปลวกชนิดทาเบเยอร์ไดร้ท์สูตรน้ำ หรือ น้ำยากันปลวกชนิดทาเบเยอร์ไดร้ท์สูตรน้ำมัน จำนวน 1 เที่ยว โดยแนะนำให้ทาไม้ให้ครบทั้ง 6 ด้านเพื่อการป้องกันสูงสุด
- กรณีไม้มียาง เช่น ไม้แดง ไม้ตะเคียน เมื่อเช็ดทำความสะอาดด้วยทินเนอร์แล้ว แนะนำให้ลงรองพื้นกันยางไม้ Beger Wood Sealer B-2000 จำนวน 1 เที่ยว
- กรณีเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน แนะนำให้รองพื้นด้วยน้ำยารักษาเนื้อไม้ Beger B-6900 เพื่อป้องกันเชื้อรา และแมลงกินไม้ จำนวน 1 เที่ยว
- กรณีมีเสี้ยนไม้ทำให้พื้นผิวไม่เรียบเนียนแนะนำให้ใช้รองพื้นอุดร่องเสี้ยน Beger Sanding Sealer B-2400 จำนวน 1 เที่ยว ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วขัดลูบส่วนที่ดูไม่สม่ำเสมอออก
- สำหรับ ยูรีเทน 2K แนะนำให้ทารองพื้นอุดร่องเสี้ยน Beger Sanding Sealer B-5000/599 (2K)
- กรณีใช้สีทาไม้ประเภทแลคเกอร์สีโปร่งแสง อาจจะทาหรือพ่นด้วยสีรองพื้นแลคเกอร์อุดร่องเสี้ยน L-5555 จำนวน 1 – 2 เที่ยว และถ้าเป็นแลคเกอร์ชนิดทึบแสง การทารองพื้นจะช่วยประหยัดสีทับหน้าได้ โดยแนะนำให้ทาหรือพ่นด้วย สีรองพื้นเทา IL-999 จำนวน 1 – 2 เที่ยว
- ทาสีทับหน้า ทาสีไม้
เมื่อเตรียมพื้นผิว และทารองพื้นตามแต่ละชนิดของไม้เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถลงสีทับหน้าได้เลย
-
- สีทาไม้ ชนิดทึบแสง สามารถทาได้เลย หรืออาจจะผสมน้ำสะอาด 10 – 15% โดยให้ทา 2 – 3 เที่ยว เว้นระยะเวลาแห้งแต่ละเที่ยวประมาณ 2 ชั่วโมง
- สีย้อมไม้ สูตรน้ำมัน สามารถทาได้เลย หรือกรณีทากลางแจ้ง อาจจะผสมทินเนอร์ ประมาณ 15 – 20% กรณีเป็น สีย้อมไม้สูตรน้ำ ก็สามารถทาได้เลยเช่นกัน หรืออาจจะผสมน้ำสะอาด 0 – 10% ให้ทา 2 – 3 เที่ยว หลังทาแต่ละเที่ยวให้ใช้กระดาษทรายขัดลูบเบาๆ แล้วทำความสะอาดฝุ่นผง ยกเว้นเที่ยวสุดท้าย
- ยูรีเทน 1K สามารถทาได้เลย หรือผสมทินเนอร์ ตามอัตราส่วนในคู่มือ ทาในจำนวน 3 – 4 เที่ยว และก่อนทาแต่ละเที่ยวให้ใช้กระดาษทรายขัดลูบเบาๆ แล้วทำความสะอาดฝุ่นผง ยกเว้นเที่ยวสุดท้าย
- ยูรีเทน 2K ผสมผลิตภัณฑ์ Part A Part B และทินเนอร์ ตามอัตราส่วนในคู่มือ แล้วทาในจำนวน 3 – 4 เที่ยว โดยก่อนทาแต่ละเที่ยวให้ใช้กระดาษทรายขัดลูบเบาๆ แล้วทำความสะอาดฝุ่นผง ยกเว้นเที่ยวสุดท้าย
- ยูรีเทนสูตรน้ำ สามารถทาได้เลย หรือผสมน้ำสะอาด 0 – 10% ทาในจำนวน 3 – 4 เที่ยว และก่อนทาแต่ละเที่ยวให้ใช้กระดาษทรายขัดลูบเบาๆ แล้วทำความสะอาดฝุ่นผง ยกเว้นเที่ยวสุดท้าย
- น้ำมันทาไม้ สามารถทาได้เลยโดยไม่ต้องผสมตัวทำละลายใดๆ และให้ทาจำนวน 2 เที่ยว
- แลคเกอร์ ผสมทินเนอร์ในอัตราส่วน สี : ทินเนอร์ 1 : 1.5 – 2 แล้วพ่นจำนวน 2 – 3 เที่ยว
ข้อควรและไม่ควรทำในการทาสีไม้
โดยทั่วไปสีงานไม้ประเภทต่างๆ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ความชำนาญมากพอสมควร ตั้งแต่ขั้นตอนการผสม ขั้นตอนการทา ดังนั้นจึงต้องศึกษาวิธีการใช้งานของสีทาไม้แต่ละชนิดให้ดี และทราบถึงข้อควรระวังก่อนลงมือใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหางานไม้ที่อาจเกิดขึ้นได้
-
- ควรใช้ทินเนอร์ยี่ห้อเดียวกับสีทาไม้ และต้องใช้รุ่นที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งาน หรือแคตตาล็อกเท่านั้น ซึ่งการใช้ทินเนอร์อื่นนอกเหนือที่กล่าวมา อาจทำให้ความเงาของฟิล์มลดลง สีไม่ยึดเกาะดังที่ควรจะเป็น และอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ เนื่องจากแม้จะเป็นทินเนอร์เหมือนกัน แต่ก็อาจมีส่วนประกอบที่แตกต่างกัน
- ผสมทินเนอร์ หรือน้ำสะอาดตามอัตราส่วนที่กำหนดในคู่มือเท่านั้น หากผสมมากไปอาจทำให้เฉดสีเจือจาง หรือทำให้ฟิล์มไม่แห้ง
- ต้องมั่นใจว่าสีที่ทาไปแห้งแล้วจริงๆ ก่อนจะลงมือทาเที่ยวถัดไป ซึ่งสามารถดูระยะเวลาแห้งทาทับได้จากคู่มือการใช้งานของแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสีย่น สีเหนียว
- ห้ามนำสีย้อมไม้ไปทาพื้น เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาพื้นเหนียว
- ห้ามนำโพลียูรีเทน ไปทาทับบนสีย้อมไม้ที่ยังไม่แห้งสนิท ซึ่งอาจทำให้โพลียูรีเทนไปกัดฟิล์มสีเดิม ทำให้สีเสียหายโป่งพอง
คำแนะนำในการเลือกซื้อสีทาไม้
- บอกร้านค้า หรือพนักงานขายให้ละเอียดถึงความต้องการของคุณ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์กับการใช้งานมากที่สุด
-
- ต้องการเอาสีไปใช้ทาไม้อะไร (ไม้ชนิดไหน ไม้แท้ ไม้เทียม) เนื่องไม้บางชนิดเป็นไม้มียาง หรือมีเสี้ยน จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์เช็ดยางไม้ หรืออุดร่องเสี้ยน ในการเตรียมพื้นผิวก่อนลงมือทา
- ต้องการเอาสีไปทาอะไร บริเวณไหน เช่น ทาผนัง ทาพื้น หรือทาเฟอร์นิเจอร์ , ทาภายนอกบ้าน หรือทาภายในบ้าน แต่ถ้าให้ดีบอกตำแหน่งไปเลย เช่น เอาไปทาระแนงนอกบ้าน เป็นต้น
- ต้องการฟิล์มสีและเฉดสีอะไร เช่น อยากได้ฟิล์มสีแบบกึ่งเงา โชว์ลายไม้ เฉดสีมะฮอกกานี เป็นต้น ซึ่งในเรื่องเฉดสีบางร้านค้าอาจจะมีแผ่นตัวอย่างเฉดสีจริง ซึ่งจะทำให้ตัดสินใจง่ายขึ้น
- มีข้อกังวล หรืออยากได้คุณสมบัติอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น อยากได้ที่กลิ่นอ่อนๆ อยากได้ที่แห้งไว เป็นต้น
ตัวอย่าง อยากได้สีทาไม้สัก บริเวณผนังภายในบ้าน อยากได้ฟิล์มแบบเงา สีเหมือนไม้สัก อยากได้ทนๆ เป็นต้น
กรณีถ้าต้องการสั่งซื้อออนไลน์ สามารถทักเข้ามาสอบถามผู้เชี่ยวชาญงานไม้ของสีเบเยอร์ เพื่อรับคำแนะนำผลิตภัณฑ์ ได้ฟรี ที่นี่
- เช็คสินค้าก่อนออกจากร้านค้า และเก็บใบเสร็จไว้ให้ดี
อย่าลืมเช็คขนาด เช็คเฉดสี ว่าตรงกับที่คุณต้องการหรือไม่ก่อนออกจากร้านด้วยนะครับ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาเอามาเปลี่ยน และที่สำคัญให้เก็บใบเสร็จในการซื้อไว้ด้วยนะครับ
สรุป วิธีเลือกสีทาไม้ ต้องเลือกอย่างไรดี
คุยมาซะเยอะจนเริ่มตาลาย เบเยอร์ทำตารางสรุปการเลือกสีงานไม้ให้ถูกประเภท เลือกให้ตรงกับงาน ตรงกับพื้นผิว มาให้แล้ว ดูจากตารางด้านล่างนี้ได้เลย
แวะชมสินค้าของเราได้ที่ www.homehub.co.th
สเปร์เคลือบไม้ดีไหมแบบฉีดแล้วเช็ตถู