กระเบื้องยางพื้น SPC ย่อมาจาก Stone Plastic Composite สามารถเรียกอีกชื่อว่า “กระเบื้อง Rigid LVT” คือกระเบื้องไวนิลที่มีชั้น Core Layer เป็น SPC มีพื้นผิวสัมผัส (Texture) ที่เหมือนพื้นไม้จริงไม่ลื่น มีความปลอดภัยเป็นมิตรต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม เกิดจากการผสมกันระหว่างหินปูนบดอัดเข้ากับพลาสติก สิ่งที่ได้คือความแข็งตัวสูงและไม่มีการยืดหดตัว จึงไม่พบปัญหาการเกยกันหรือโก่งตัวของแผ่นกระเบื้องที่ใช้งานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำมาก ซึ่งอาจพบได้ในการใช้งานกระเบื้องยาง กระเบื้อง LVT รวมถึงกระเบื้อง WPC ผลิตด้วยนวัฒกรรมใหม่ ที่เพิ่มคุณสมบัติเด่น มีส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้พื้น SPS มีความทนทานมากยิ่งขึ้น คือหินปูน (แคลเซียมคาร์บอเนต) + ผงพีวีซี + เครื่องป้องกันอัคคี กระเบื้องยาง SPC ( รุ่นคลิ๊กล๊อก ) จึงมีเสถียรภาพที่คงทน กันน้ำ, ทนไฟ, กันปลวก, ทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดี
ความหนารวมของแผ่นกระเบื้องอยู่ที่ 3-4 มม. และมีความหนาของชั้น Wear Layer อยู่ที่ 0.3-0.55 มม. เท่านั้น แต่ด้วยความแข็งของวัสดุจึงทนต่อแรงกระแทก แรงกดทับ และการขีดข่วนได้มาก เรียกว่าแทบไม่เกิดรอยให้กวนใจ ทั้งยังสามารถใช้งานในที่เปียกชื้นอย่างห้องน้ำได้สบาย ๆ โดยมีการติดตั้งแบบ Click ที่ยึดแน่นได้ดีกว่า LVT หรือ WPC อีกด้วย
ข้อดีของกระเบื้องยางพื้น SPC
- ตัววัสดุสามารถทนน้ำและทนความชื้นได้ดี ไม่นับรวมกาวที่ใช้ในการติดตั้ง ซึ่งไม่เหมาะกับการใช้งานในที่ชื้น
- หมดปัญหาเรื่องปลวก เนื่องจากไม่มีส่วนประกอบของไม้
- ติดตั้งง่าย สามารถปูบนพื้นบ้านใหม่ หรือปูทับวัสดุเดิมเพื่อปรับโฉมให้บ้านเก่าและยังเป็นงาน DIY สำหรับเจ้าของบ้านที่มีฝีมือได้ไม่ยาก
- ไม่มีสาร Formaldehyde
ข้อเสียของกระเบื้องยางพื้น SPC
- สัมผัสเวลาเดินยังต่างจากไม้จริงหรือไม้ลามิเนต แม้ว่าพื้นผิว ลวดลาย ความสวยงามจะเหมือนไม้จริงแล้วก็ตาม
- กระเบื้อง LVT จำเป็นต้องปรับพื้นให้เรียบก่อนการปูทับวัสดุเดิม เพราะวัสดุกระเบื้องยางยิ่งบางเท่าไรยิ่งต้องเตรียมพื้นผิวให้เรียบมากขึ้นเท่านั้น
โครงสร้างของกระเบื้องยาง SPC
หลังจากที่เรารู้แล้วว่า กระเบื้องยาง SPC คืออะไร ตอนนี้เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างของกระเบื้องยาง SPC กันบ้างดีกว่าค่ะ ซึ่งโครงสร้างประกอบไปด้วย 6 ส่วน ดังนี้
- UV Coating ชั้นเคลือบรังสียูวี จากแสงแดดป้องกันการซีดจางของ Printing film และยังช่วยเคลือบให้การดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น
- Ware Layer ชั้นกันรอย เพิ่มความคงตัว ทนต่อการขีดข่วนและแรงกดทับได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งบ้านไหนมีสัตว์เลี้ยง บอกเลยว่าการใช้กระเบื้องยาง SPC ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะจะช่วยป้องกันพื้นสวย ๆ ของคุณจากเล็บของสัตว์เลี้ยง หรือเวลาที่คุณเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์ ก็ปลอดภัย หายห่วงแน่นอน
- Decor Film ชั้นลวดลาย ช่วยเพิ่มลวดลายให้สวยงามยิ่งขึ้น เพื่อให้เข้ากับผนังและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
- Click System and Base Layer ชั้นคลิ๊กล็อคและชั้นกลาง เพิ่มความแข็งแรง ความแกร่ง ซึ่งเป็นชั้นที่ผสมแคลเซียมคาร์บอเนต
- Backing ชั้นรองหลัง ช่วยในการลดแรงตึงผิวของชั้นเบสเลเยอร์ ช่วยให้การคงตัวของวัสดุให้ดียิ่งขึ้น เหนียวทนทานมากยิ่งขึ้น
- Under Layer with foam IXPE sheet รองพื้นด้วย โฟม IXPE จึงทำให้ความนุ่มสบายของเท้าทุกครั้งที่เท้าสัมผัสกับพื้น
คุณสมบัติเฉพาะของกระเบื้องยาง SPC
ถึงแม้ว่าเราจะรู้ว่า กระเบื้องยาง SPC คืออะไร แต่สิ่งสำคัญที่เราควรจะรู้เช่นเดียวกัน ที่จะช่วยให้เราเลือกมาใช้งานได้อย่างถูกต้อง ก็คือคุณสมบัติเฉพาะของกระเบื้อง SPC นั้นเอง
- กันน้ำได้ 100%
- กันลามไฟได้
- มีเทคโนโลยีที่ชวยการขัดแบคทีเรีย
- เคลือบสาร UV Coating จึงช่วยป้องกันยูวีจากแสงแดด อีกทั้งยังช่วยยืดอายุการใช้งานไปได้อีกเยอะ
- ไม่มีส่วนผสมของใยหิน ทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- ให้ความแข็งแรง มีเสถียรภาพสูง
- ทนชื้น กันปลวก ไม่ขยายตัว
กระเบื้องยาง SPC เหมาะกับการใช้งานในรูปแบบไหนบ้าง?
นอกจากจะรู้ว่าการเบื้องยาง SPC คืออะไร มีคุณสมบัติอะไรบ้างแล้ว การที่เราจะนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง ก็ต้องรู้ถึงรูปแบบการใช้งาน ซึ่งกระเบื้องยาง SPC เหมาะกับพื้นที่ที่มีความชื้นสูงในอาคาร เช่น ชั้นใต้ดิน พื้นบ้านชั้นหนึ่งห้องครัว หรือใช้ในพื้นที่ปกติ เช่น ห้องนอน ก็ให้ความสวยงามได้เช่นเดียวกัน
แวะชมสินค้าของเราได้ที่ www.homehub.co.th